บันทึกการเรียนรู้


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13

วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ.2559

ความรู้ที่ได้รับ

คาบสุดท้ายของวิชาการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย ในวันนี้จะมีกิจกรรมด้วยกัน 4 กิจกรรม



              

        



ตัวแทนของกลุ่มนำเสนอชิ้นงาน "ฉันคืออะไร" ให้เพื่อนๆฟัง







สอบร้องเพลงเด็กปฐมวัยโดยการจับฉลาก





















อาจารย์เบียร์สอนการจัดสภาพภายในห้องเรียนเด็กปฐมวัย






อาจารย์เบียร์สอนเขียนแผน


การนำความรู้ไปใช้

การร้องเพลงเด็กเป็นกิจกรรมที่สามารถชักจูงเด็กให้เด็กได้อยากจะเรียนรู้กิจกรรมที่จัด ถือเป็นวิธีหนึ่งในขั้นนำที่จะให้เด็กเกิดความสนใจ รวมถึงการเขียนแผนการเรียนให้เป็นเพื่อนำไปจัดการสอนให้เด็ก นอกจากนี้ยังจำเป็นที่จะต้องจัดสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียนให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย


การประเมินผล

ตนเอง: ตั้งใจเรียน เข้าห้องเรียนตรงต่อเวลา มีการฝึกฝนการร้องเพลงก่อนมาสอบ
เพื่อน: เพื่อนทุกคนมีความตั้งใจในการสอบ และเตรียมตัวกันมาดีเกือบทุกคน
อาจารย์: ตั้งใจสอนนักศึกษา ให้รางวัลเด็กดีกับนักศึกษา




รางวัลเด็กดี











บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12

วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2559

ความรู้ที่ได้รับ

คาบที่ 12 ของวิชาการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย ต้นคาบ อ.เบีย์แจกเนื้อเพลงแผ่นใหม่ เพลงเป็นเกี่ยวกับดอกไม้และกลางวันกับกลางคืน




หลังจากฝึกร้องเพลงกันแล้ว ก็จับกลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน ร่วมกันทำเป็นหนังสือเกี่ยวกับ "ฉันคืออะไร" โดยการวาดรูปและเขียนรายละเอียดกับตัวที่จะทายเด็ก เพื่อให้เด็กได้ฝึกคิดตามว่าตัวอะไรที่มีลักษณะดังที่กล่าวมา












การนำความรู้ไปใช้

เมื่อเราเป็นครูสามารถทำหนังสือร่วมกับเด็ก โดยใช้หนังสือที่ทำขึ้นมานี้สามารถนำมาใช้เล่นกับเด็ก ให้เด็กได้ใช้ความคิดว่า "ฉันคืออะไร"

การประเมินผล

ตนเอง: ตั้งใจฝึกร้องเพลงที่ได้มา ร่วมทำงานกลุ่มกับเพื่อนได้เป็นอย่างดี
เพื่อน: ให้ความร่วมมือในการทำงานกันทุกคน
อาจารย์: ให้คำแนะนำในการทำได้อย่างละเอียดและเข้าใจ









บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11

วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ.2559

ความรู้ที่ได้รับ

คาบที่ 11 ของวิชาการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย ในต้นคาบได้เรียนเพลงภาษาอังกฤษชื่อเพลง fly fly the butterfly โดยที่อาจารย์เบียร์เป็นคนเล่นอิเล็กโทน แล้วให้นักศึกษาเป็นผีเสื้อ ถ้าท่อนเพลง high ให้ผีเสื้อบินสูง ส่วนท่อน low ให้ผีเสื้อบินต่ำเล่นเสียงโน๊ตสูง-ต่ำ





ทบทวนเพลงเด็กที่เคยได้เรียนไป โดยอ.เบียร์เล่นอิเล็กโทนให้ทำนองกับนักศึกษา หลังจากที่ทวนเพลงเสร็จแล้วก็มาเรียนเรื่องการสร้างนิทานกับเด็กในห้องเรียน ครูและเด็กช่วยกันแต่งนิทาน

ตัวอย่างนิทานของเด็กอนุบาล


 อ.เบียร์ให้ลองจับกลุ่ม 4คน แล้ววาดตามนิทานที่เขียน ซึ่งตกลงตั้งชื่อนิทานเล่มนี้ว่าดอกไม้กีบผีเสื้อ














การนำความรู้ไปใช้

การใช้เสียงดนตรีกับเด็กปฐมวัยจะทำให้เด็กรู้สึกผ่อนคลายและสนุกสนานไปพร้อมกัน การทำนิทานร่วมกับเด็กในห้องเรียน ต้องปรับเปลี่ยนคำบอกเล่าของด็กเพื่อให้นิทานสามารถอ่านแล้วเข้าใจได้ หรือบางครั้งช่วยเด็กคิดด้วยก็ได้


การประเมินผล

ตนเอง: สนุกสนานและผ่อนคลาย ระบายสีได้ไม่สวย เมื่อกลุ่มของตัวเองเสร็จก็ไปคุยเล่นกับเพื่อนกลุ่มอื่นที่ยังไม่เสร็จ
เพื่อน: ร่วมกันทำนิทาน ให้ความร่วมกันถายในกลุ่มเป็นอย่างดี
อาจารย์: สร้างความผ่อนคลายและสนุกสนานให้กับนักศึกษาโดยการเอาเสียงดนตรีเป็นตัวช่วยเสริม







บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10


วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ.2559

ความรู้ที่ได้รับ


คาบที่ 10 ของวิชาการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย ในต้นคาบของการเรียนนั้น อ.เบียร์ให้ฝึกการเขียนแบบแนวตั้ง คือนั่งและเขียนตามที่เด็กเล่า เพราะในการทำการสอนเกี่ยวกับการสอนแบบโครงการ (Project Approach) จำเป็นที่จะต้องฟังเด็ก พูดกับเด็กและเขียนไปพร้อมๆกัน






ท้ายคาบอ.เบียร์แจกชีทเพลงแผ่นใหม่อีก 5 เพลง ภายในห้องเรียนร่วมกันฝึกร้อง


การนำความรู้ไปใช้

การฝึกเขียนในแนวตั้งเป็นสิ่งที่จำเป็นในการสอนแบบโครงการ (Project Approach) และการฝึกร้องเพลงเด็กเอาไว้เยอะๆจะสามารถนำไปปรับใช้กับหน่วยการเรียนรู้ได้

การประเมินผล

ตนเอง: .ให้ความร่วมมือกับเพื่อนเมื่อเพื่อนฝึกเขียนแนวตั้ง แต่คุยเล่นกันเสียงดังเกินไป
เพื่อน: เพื่อนให้ความร่วมมือกับพื่อนในกลุ่มตนเองเป็นอย่างดี
อาจารย์: ให้คำแนะนำในการฝึกเขียนแนวตั้ง สอนร้องเพลงได้อย่างสนุกสนาน






บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9

วันพฤหัสบดีที่ 27 ตุลาคม พ.ศ.2559

ความรู้ที่ได้รับ


คาบที่ 9 ของวิชาการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งได้เรียนเกี่ยวกับการสอนแบบโครงการ (Project Approach) โดยมีพี่ปี 5 ที่เคยฝึกสอนการสอนในรูปแบบนี้มาให้ความรู้และคำแนะนำ





โดยการสอนแบบโครงการคือ การให้เด็กได้เรียนเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพื่อสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เพื่อฝึกความคิดและแสวงหาความรู้ด้วยกระบวนการแก้ปัญหา





วิธีการจัดการเรียนการสอนมีอยู่ด้วยกัน 3 ระยะ คือ

-ระยะที่ 1 เริ่มต้นโครงการ ค้นหาสิ่งที่เด็กสนใจ
-ระยะที่ 2 ดำเนินโครงการ พูดคุยแลกเปลี่ยนกับเด็ก สืบค้นข้อมูล
-ระยะที่ 3 สรุปโครงการ เด็กนำเสนอผลงาน




การนำความรู้ไปใช้

การสอนในรูปแบบนี้ เด็กจะต้องแสวงหาความรู้ หาคำตอบในสิ่งที่เด็กสนใจ โดยครูคือผู้ให้คำแนะนำและสนับสนุน ต้องมีไหวพริบในการโต้ตอบกับเด็กและการโน้มน้าวใจให้เด็กอยากเรียนด้วย



การประเมินผล

ตนเอง: มาเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์และพี่ๆสอน
เพื่อน: ให้ความร่วมมือในการเรียนการสอน
อาจารย์: ให้รุ่นพี่ปี 5 ที่มีประสบการณ์มาช่วยในการสอนทำให้เข้าใจได้มากขึ้น








บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8

วันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม พ.ศ.2559

ความรู้ที่ได้รับ

คาบที่ 8 ของวิชาการจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย อาจารย์ให้นักศึกษานำแผ่นชาร์ตเพลงออกมานำสอนร้องทีละคน เหมือนกับการได้สอนเด็กจริงๆ และอาจารย์ให้คำแนะนำเมื่อเราได้ทำการสอนจบแล้ว




เพลงพี่น้องกัน


การนำความรู้ไปใช้

การใช้เพลงสามารถนำไปเชื่อมโยงในการสอนแต่ละหน่วยได้ และจะต้องทำสื่อการสอนให้เหมาะสมในแต่ละหน่วยด้วย เช่น เพลงพี่น้องกันสามารถนำไปเชื่อมโยงกับหน่วยครอบครัวได้

































การประเมินผล

ตนเอง: ต้องฝึกฝนการร้องเพลงให้ดีกว่านี้ และต้องปรับปรุงเนื้อเพลงเพราะท่องจำเนื้อเพลงมาแบบผิดๆ
เพื่อน: การนำสอนของแต่ละคนมีพัฒนาที่ดีขึ้น และระหว่างที่เพื่อนคนอื่นทำการสอนอยู่ก็ตั้งใจฟังเพื่อน จะมีอยู่บ้างที่คุยกันเสียงดัง
อาจารย์: มีให้คำแนะนำเกี่ยวกับการนำสอนให้แต่ละคน





บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7

วันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม พ.ศ.2559

ความรู้ที่ได้รับ

คาบที่ 7 ของวิชาการจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย ภายในคาบอ.เบียร์ได้แจกเนื้อเพลงใบใหม่ให้ลองฝึกร้องเช่น เพลงแม่ไก่ออกไข่ เพลงลุงมาชาวนา เพลงนกกระจิบ เป็นต้น ได้ร่วมฝึกร้องกัน ในแต่ละเพลงมีจังหวะทำนองยากง่ายต่างกันไป หลังจากได้ลองฝึกร้องแล้ว อ.เบียร์ก็สอนทักษะการสอนเด็กร้องเพลงให้ดู แล้วขอตัวแทนให้ออกไปลองสอนเพื่อนดู



อาจารย์สอนร้องเพลงหน้าชั้นเรียน

สอนทักษะการสอนเด็กร้องเพลง

การนำความรู้ไปใช้

การเป็นครูจำเป็นจะต้องมีวิธีการสอนที่หลากหลายรวมถึงการนำเพลงมาเชื่อมโยงกับการเรียนรู้ในหน่วยต่างๆที่สอน ต้องมั่นฝึกฝนเตรียมตัวอยู่ตลอด



การประเมินผล

ตนเอง: ตั้งใจเรียนแต่ในบางครั้งก็มีการคุยเล่นกับเพื่อน และเป็นตัวแทนออกไปสอนเพื่อนหน้าห้อง
เพื่อน: ฝึกร้องเพลงและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
อาจารย์: ให้คำแนะนำและปฏิบัติให้ดูเป็นตัวอย่างทำให้เข้าใจได้ง่ายมากยิ่งขึ้น