บันทึกการเรียนรู้


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5

วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ.2559

ความรู้ที่ได้รับ

คาบที่ 5 ของวิชาการจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย ในชั่วโมงต้นคาบได้มีการให้ตัวแทนแต่ละกลุ่มออกไปลองสอนดูข้างหน้าห้อง


   ก่อนที่จะให้ตัวแทนของแต่ละกลุ่มออกไปนำสอน อ.เบียร์ได้ทบทวนวิธีการสอนให้ดูอีก 1 รอบก่อน





 หลังจากที่แต่ละกลุ่มได้ทดลองสอนหน้าชั้นเรียนแล้ว ก็ทวนเพลงที่ได้ฝึกร้องเมื่ออาทิตย์ที่แล้วไป เพลงละ 2 รอบ แล้วก็เริ่มเข้าสู่บทเรียน


อาทิตย์นี้เรียนเรื่องแนวทางการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย โดยการจัดนั้นจะต้องสอดคล้องกับธรรมชาติของเด็กปฐมวัยด้วยคือ เด็กปฐมวัยชอบเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ช่างสงสัย มีความคิดสร้างสรรค์และชอบเลียนแบบ ซึ่ง Kenneth Goodman ได้เสนอการสอนแบบภาษาธรรมชาติขึ้นมา เพื่อให้สอดคล้องกับการเรียนรู้และธรรมชาติของเด็ก

การนำความรู้ไปใช้

การเรียนเรื่องภาษาธรรมชาติทำให้เข้าใจธรรมชาติของเด็ก และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปจัดประสบการณ์ให้กับเด็กในอนาคตได้

การประเมินผล

ตนเอง: เข้าเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์
เพื่อน: ตั้งใจฟังอาจารย์ ให้ความร่วมมือภายในชั้นเรียนเป็นอย่างดี
อาจารย์: สอนเนื้อหาเข้าใจง่าย ไม่น่าเบื่อ


               

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4

วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ.2559

ความรู้ที่ได้รับ

คาบที่ 4 ของวิชาการจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย ในชั่วโมงต้นคาบนั้นได้ฝึกหัดร้องเพลงสำหรับเด็กปฐมวัยเพลงใหม่ ได้แก่ เพลงตาดูหูฟัง เพลงจ้ำจี้ดอกไม้ เพลงดอกไม้ เพลงนกเขาขันและเพลงกินผักกัน ของอ.ศรีนวล รัตนสุวรรณ



พอฝึกหัดร้องเพลงกันเรียบร้อยแล้ว ก็เรียนเรื่องคำคล้องจอง โดยที่ให้จับกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน ช่วยกันแต่งคำคล้องจอง รวมทั้งมีภาพประกอบเพื่อให้เหมาะกับเด็กปฐมวัย เพราะเด็กปฐมวัยยังไม่สามารถอ่านหนังสือได้ จึงต้องมีภาพช่วยประกอบกับตัวเขียน


  

ก่อนจะลงมือเขียนจำเป็นต้องวางแผนผังเรื่องก่อนที่จะเริ่มต้นเขียน เพื่อที่จะแตกแขนงออกเป็นเรื่องๆได้ โดยกลุ่มของเราได้ทำเรื่องท้องฟ้า โดยเริ่มคิดก่อนว่าบนท้องฟ้านั้นมีอะไรบ้าง อย่างบนท้องฟ้าก็จะมีเมฆ ฝน พระอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาว พอแต่งคำคล้องจองเสร็จก็แบ่งหน้าที่ คนเขียน คนวาดรูป

คำคล้องจอง โลกของท้องฟ้า
วิธีการนั่งสอนคือ ถ้าไม่มีเก้าอี้ก็นั่งสอนกับพื้น ใช้มือข้างที่ถนัดในการชี้ โดยที่อ่านคำไหนก็จะต้องเอาไม้ชี้ตามไปกับคำที่เราอ่าน การอ่านคำคล้องจองมี 3 วิธี  1.อ่านทีละหนึ่งบรรทัดแล้วให้เด็กอ่านตาม  2.อ่านให้ฟังหนึ่งรอบแล้วให้เด็กอ่าน  3.ให้เด็กอ่านไปพร้อมกับคุณครู


คำคล้องจอง พิซซ่า แต่งโดยคุณครูและเด็กชั้นอนุบาล2

การนำความรู้ไปใช้


คำคล้องจองเป็นขั้นนำในการสอนเด็กปฐมวัย จำเป็นจะต้องแต่งคำคล้องจองให้เป็นเพื่อจะสามารถนำไปใช้ในการเป็นครูในอนาคตได้

การประเมินผล

ตนเอง: มาเรียนตรงต่อเวลา ไม่ค่อยกระตือรือร้นในการเรียนเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
เพื่อน: ให้ความร่วมมือภายในคาบเป็นอย่างดี
อาจารย์: เข้าสอนตรงต่อเวลา สอนเข้าใจง่าย สามารถนำไปปรับใช้ในอนาคตได้





บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3

วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ.2559

ความรู้ที่ได้รับ

คาบที่ 3 ของวิชาการจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย เริ่มคาบวิชาเรียนด้วยการทวนเพลงที่เคย

ได้เรียนไป



หลังจากที่ร้องเพลงกันแล้วต่อมาก็จะเข้าสู่บทเรียนเรื่องแนวคิดนักการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาภาษาของเด็กปฐมวัย ซึ่งมีแนวคิดเกี่ยวกับแนวคิดในกลุ่มต่างๆ เช่น แนวคิดของกลุ่มพฤติกรรมนิยม จะมีของ Skinner ซึ่งให้ความสำคัญกับสิ่งเร้าและการตอบสนอง ทฤษฎีของ John B. Watson โดยเป็นทฤษฎีแบบวางเงื่อนไข ส่วนตัวแล้วไม่ชอบทฤษฎีนี้เลยเพราะเหมือนต้องวางข้อจำกัดให้เด็ก เด็กไม่ได้อิสระในการเรียนรู้ และอีกกลุ่มแนวคิดพัฒนาการทางสติปัญญา ซึ่งมีนักทฤษฎี Vygotsky  และ Piaget







ทดสอบการใช้ภาษา เมื่อเราได้รับการฝึกฝนก็จะสามารถทำได้ดีขึ้น

อ.เบียร์แจกกระดาษและสีเทียนให้ โจทย์มีอยู่ว่า "ให้วาดสิ่งที่ตัวเองรัก" โดยที่เรานั้นเปรียบเสมือนกับเป็นเด็ก เมื่อวาดเสร็จแล้วก็จะนำภาพที่เราวาดให้เพื่อนที่รับบทบาทเป็นคุณครูเขียนบรรยายใต้ภาพให้ จากนั้นก็มาเล่าสิ่งที่ตัวเองวาดหน้าชั้นเรียน





ฝึกคัดลายมือลงในกระดาษแผ่นใหญ่


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

1.การเรียนรู้ทฤษฎีของนักทฤษฎีทำให้เราสามารถนำแนวคิดมาประยุกต์ใช้กับการสอนของตนเองได้
2.การใช้ภาษาเป็นสิ่งสำคัญในการสอนเด็ก
3.การฝึกคัดลายมือ เมื่อเราได้เป็นครูก็จะได้เป็นตัวอย่างให้กับเด็ก และเด็กจะฝึกหัดเขียนได้ง่าย เพราะตัวหนังสือมีความใหญ่และชัดเจน


การประเมินผล

ตนเอง: มาเรียนตรงต่อเวลา ให้ความร่วมมือกับในชั้นเรียน
เพื่อน: ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
อาจารย์: ตรงต่อเวลา สอนเนื้อหาจากเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย สอนไม่น่าเบื่อ

ได้ดาวเด็กดีมาหนึ่งดวง